สุดเวทนา น้ำตาไหล!! หญิงชราวัย 80 ป่วยหนักติดเตียง ซ้ำดวงตาบอดสนิท ไม่มีแม้เบี้ยยังชีพ นอนทรมาน สุดสงสาร (รายละเอียด)

เมื่อวันที่ 5 ก.ย.60 ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่อ Poramet Misomphop ได้โพสต์ภาพหญิงชราคนหนึ่งนอนป่วยอยู่คนเดียวภายในบ้านพักไม่มีญาติพี่น้องหรือลู...


เมื่อวันที่ 5 ก.ย.60 ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่อ Poramet Misomphop ได้โพสต์ภาพหญิงชราคนหนึ่งนอนป่วยอยู่คนเดียวภายในบ้านพักไม่มีญาติพี่น้องหรือลูกหลานดูแล ซ้ำหญิงชราคนนี้ยังป่วยหนักไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตอนนี้มีเพียงเพื่อนบ้านคอยให้การช่วยเหลือบ้างเป็นครั้งคราว โดยผู้โพสต์ระบุว่า...





นั่งมองรูปแล้วใจจะขาดคุณยายสำลีวัย 80 กว่าปี ยายพักอาศัยอยู่ตัวคนเดียวภายในบ้าน ไม่มีญาติพี่น้อง หรือ ลูกหลานตอนนี้เท่าที่ทราบจากแหล่งข่าวแจ้งว่ายายป่วยเป็นโรคเชื้อราที่กระดูก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องนอนอยู่กับที่ซ้ำร้ายสายตาต้องบอดสนิท...ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ ไม่มีเลขบัญชีธนาคาร
ตอนนี้มีเพียงเพื่อนบ้านคอยให้การช่วยเหลือเบื้องต้น คุณยายอยู่ที่จังหวัด กาญจนบุรี คุณยายครับ เดี๋ยวเมศจะเดินทางไปเยี่ยมเพื่อหาทางช่วยเหลือ รอเมศนะครับ

ขอขอบคุณเพื่อนบ้านทุกท่านที่ให้การช่วยเหลือตามกำลังเบื้องต้นครับ (ขอขอบคุณภาพจากแหล่งข่าวนะครับ)
อย่างไรก็ตามเมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กรายดังกล่าวได้เดินทางไปเยี่ยมหญิงชราเคสนี้ คงได้มีช่องทางในการช่วยเหลือมากยิ่งขึ้น



โรคกระดูกติดเชื้อ (Osteomyelitis) โรคนี้เป็นการอักเสบของกระดูกจากการติดเชื้อ ปกติกระดูกจะต้านทานการติดเชื้อได้ดี โรคนี้จึงพบได้ไม่บ่อย แต่เมื่อพบแสดงว่าเชื้อมีความรุนแรงและยากต่อการ




รักษา เชื้อส่วนใหญ่เป็นพวกแบคทีเรีย แต่อาจเป็นเชื้อราหรือเชื้อวัณโรคก็ได้ เชื้อเหล่านี้เข้าสู่กระดูกได้ 3 ทาง คือ
ทางตรง จากอุบัติเหตุที่มีกระดูกหักและบาดแผลภายนอก หรือจากการผ่าตัดกระดูก
ทางเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยการลุกลามของการติดเชื้อที่ผิวหนังและในเนื้อเยื่อ หรือแผลไฟไหม้
ทางกระแสเลือด แหล่งติดเชื้ออาจอยู่ที่อวัยวะอื่นที่ไกลออกไป แต่เมื่อเชื้อแทรกซึมเข้าสู่กระแสโลหิตแล้วก็สามารถจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้กับทุกอวัยวะ รวมทั้งการมีสายคาไว้ในหลอดเลือดดำเพื่อการรักษา และการใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้นด้วยตัวเอง โรคกระดูกติดเชื้อนี้พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณสองเท่า และพบในเด็กเล็กวัยต่ำกว่า 5 ขวบมากถึงร้อยละ 20 (อีกร้อยละ 20 พบในผู้มีอายุระหว่าง 5-20 ปี) ปัจจัยที่ทำให้โรคนี้เกิดง่ายขึ้นเมื่อเชื้อมีช่องทางเข้าสู่กระดูกแล้วได้แก่ โรคเลือดธาลัสซีเมีย, โรคเบาหวาน, โรคติดสุรา, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ยาที่กดภูมิคุ้มกัน

อาการของโรค
โรคกระดูกติดเชื้อจากการบาดเจ็บ มักเกิดตามหลังบาดแผลหรือการผ่าตัดประมาณ 1 เดือน อาการหลักคือ การบาดเจ็บไม่หายตามระยะเวลาอันควร ไม่สามารถลงน้ำหนักหรือใช้งานอวัยวะที่บาดเจ็บได้ตามปกติ มีอาการเจ็บแม้ไม่ได้ใช้งาน และมีไข้ อ่อนเพลียเป็น ๆ หาย ๆ หากมีอาการเหล่านี้ควรเอกซเรย์กระดูกดูเป็นระยะ ๆ

โรคกระดูกติดเชื้อจากกระแสเลือด มักพบในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังดังกล่าวข้างต้น ในเด็กมักเกิดกับกระดูกแท่งยาว (เช่น ขา แขน) และที่หมอนรองกระดูกสันหลัง แต่ในผู้ใหญ่มักเกิดกับกระดูกสันหลังและกระดูกรูปแบนอื่น ๆ (เช่น กระดูกเชิงกราน กระดูกซี่โครง กระดูกสะบัก กระโหลกศีรษะ หรือกระดูกอก)

อาการในเด็กส่วนใหญ่จะเกิดเร็ว (acute) ผู้ป่วยจะมีเริ่มมีอาการปวด บวม และกดเจ็บตรงตำแหน่งกระดูกที่ติดเชื้อหลังมีไข้ภายใน 7-10 วัน ในเด็กเล็กจะไม่เคลื่อนไหวแขนหรือขาข้างนั้น หากเป็นที่หมอนรองกระดูกสันหลังจะไม่ยอมลุกนั่ง อาจไม่ดูดนมหรือร้องกวน ในเด็กโตจะเดินกระเผลก ลงน้ำหนักไม่ได้สุด หรือใช้แขนยกอะไรหนัก ๆ ไม่ได้เพราะปวด และไข้จะขึ้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ

อาการในผู้ใหญ่มีทั้งแบบที่เกิดเร็วเหมือนในเด็กและแบบที่ค่อย ๆ เกิดอย่างช้า ๆ ภายในเวลา 3 สัปดาห์ - 3 เดือน (chronic) หากเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และเป็นที่กระดูกสันหลังจะทำให้แยกยากจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม อาการสำคัญคือมีไข้ร่วมกับปวดหลัง และไม่หายแม้จะล้มตัวลงนอนในตอนกลางคืน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระดูกติดเชื้อ ได้แก่ ภาวะกระดูกตายในบริเวณที่ติดเชื้อ, ในเด็กอาจส่งผลให้กระดูกนั้นไม่เจริญต่อ, หากกระดูกที่ติดเชื้ออยู่ใกล้ข้อก็อาจลุกลามเข้าไปในข้อเกิดเป็นโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ (septic arthritis)

การป้องกัน
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าโรคนี้วินิจฉัยได้ยากและรักษาก็ยาก หลังรักษายังมีพยาธิสภาพหลงเหลือ ดังนั้นการป้องกันจึงน่าจะดีที่สุด การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งของเครื่องใช้อยู่เสมอ คอยระวังอย่าให้มีดบาดหรือเกิดอุบัติเหตุจนมีแผล โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกติดเชื้อดังกล่าวในตอนต้น




Cr:https://www.siamnews.com/view-5866.html



You Might Also Like

0 comments